สมัชชา เป็นเสมือนสภาของโลกมีหน้าที่กำหนดแนวทางปฏิบัติงานเพื่อความร่วมมือกัน
รักษาสันติภาพ ประกอบด้วยสมาชิกจากทุกประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชา
ชนการประชุมสามัญประจำปี เริ่มในวันอังคารที่สามของเดือนกันยายนของทุกปีแต่ละ
ประเทศสามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมได้ไม่เกิน 5 คน โดยลงคะแนนเสียงได้เพียง 1
เสียงตามมติหนึ่งชาติต่อหนึ่งคะแนนเสียง การลงมติในเรื่องทั่วไปให้ถือคะแนนเสียงข้าง
มาก ส่วนมติสำคัญต้องได้รับคะแนนเสียง 2 ใน 3 ขององค์ประชุม เช่น การรับสมาชิก
ใหม่การขับไล่่สมาชิก การเลือกตั้งคณะมนตรีฯ ต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการประชุม
สมัยพิเศษ และการประชุมสมัยพิเศษฉุกเฉิน นอกสมัยการประชุมสามัญประจำปี ซึ่งแล้ว
แต่กรณีเป็นครั้งคราวไป โดยเลขาธิการสหประชาชาติจะเรียกประชุมสมัชชาตามคำร้อง
ขอที่มีขึ้นมา
คณะมนตรีความมั่นคง มีหน้าที่คือเป็นองค์กรหลักขององค์การสหประชาชาติในการ
ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบไป
ด้วยสมาชิก 15 ประเทศซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
สมาชิกประจำ ได้แก่ 5 ประเทศมหาอำนาจผู้ก่อตั้งคือ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย
(แทนสหภาพโซเวียตเดิม) อังกฤษ ฝรั่งเศส และสาธารณรัฐประชาชนจีน(เดิมเป็นของ
จีนไต้หวัน) สมาชิกประจำจะมีอภิสิทธิ์คือ เป็นสมาชิกแบบถาวรตลอดไปและสามารถ
ใช้สิทธิยับยั้ง (Right of veto) ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะของสมาชิกประจำแห่งคณะมนตรี
ความมั่นคงเท่านั้น
สมาชิกไม่ประจำ มี 10 ประเทศที่ได้รับการเลือกตั้งจากสมัชชาทุก 2 ปี
ไม่มีสิทธิในการใช้สิทธิยับยั้งดังกล่าว ในการพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ของคณะมนตรี
ความมั่นคงนั้น มติต่าง ๆ ต้องผ่านการรับรองของที่ประชุมด้วยมติ 9 ใน 15 เสียง
โดยสมาชิกประจำทั้ง 5 ชาติไม่ใช้สิทธิยับยั้ง เรื่องนั้นจึงจะผ่านต่อไปยังสมัชชา แต่ถ้า
หากสมาชิกของประเทศใดประเทศหนึ่ง (ใน 5 ประเทศ) ลงคะแนนเสียงคัดค้านถือว่า
เป็นการใช้สิทธิยับยั้ง มีผลให้ร่างข้อมตินั้นตกไป แต่การงดเว้นออกเสียงและการไม่เข้า
ร่วมประชุม ไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิยับยั้งหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงคือเป็นองค์
กรหลักของสหประชาชาติในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม มีหน้าที่สำคัญคือ การส่งเสริมและพัฒนาความร่วม
มือระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงเรื่องการค้า การขนส่ง การ
พัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาเศรษฐกิจ ประชากร และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของ
มนุษย์ นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการที่อยู่ในภูมิภาคต่างๆ ของโลกอีก 5 แห่ง รวมทั้ง
ที่กรุงเทพมหานคร คือคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก
(ESCAP)
สำนักเลขาธิการ ทำหน้าที่บริการองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติประกอบด้วยเจ้า
หน้าที่จากนานาประเทศ ปฏิบัติงานร่วมกันที่สำนักงานใหญ่และสำนักงานอื่นๆ ผู้บริหาร
สูงสุดคือเลขาธิการซึ่งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี คนปัจจุบันได้แก่นายโคฟี อันนันจาก
ประเทศกานา
|