องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่มีบทบาทและอิทธิพลใน
การกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของสังคมโลก ซึ่งองค์การเหล่านี้จะทำหน้าที่ดูแลให้
้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามกติกาของสังคมโลก อีกทั้งผลักดันให้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ
เสรีนิยม และมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เหมาะสมขณะเดียวกันส่งเสริมให้ภาคเอกชน
มีบทบาททางเศรษฐกิจ ตลอดทั้งมีการถ่ายโอนการผลิตไปสู่เอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่ง
เสริมให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในแต่ละประเทศเพื่อให้ระบบทุนนิยมโลกขยายตัวและเป็น
องค์การที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงิน ตลอดจนอำนวยความสะดวกทางด้านการเงิน
ระหว่างประเทศ องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในปัจจุบันมีจำนวนมากในที่นี้จะ
กล่าวถึงเฉพาะองค์การที่กำลังมีบทบาทในปัจจุบัน ดังนี้
3.1 องค์การค้าโลก
(World Trade Organization : WTO)

www.wto.org
องค์การค้าโลก เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีพัฒนาการมาจากข้อตกลงทั่วไป
ว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า หรือ แกตต์ (General Agreement on Tariffs and Trade
: GATT) เมื่อปี ค.ศ. 1947 แต่ไม่มีสถานะเป็นสถาบันจนกระทั่งประเทศสมาชิกได้เปิดการ
ประชุมครั้งที่ 8 ใน ค.ศ. 1986 ที่เรียกว่าการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย และผลของการประ
ชุมส่วนหนึ่งคือ การก่อตั้งองค์การค้าโลกขึ้นในปี ค.ศ.1995 องค์การนี้สังกัดอยู่ในสมัชชา
แห่งสหประชาชาติสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ปัจจุบันมีสมาชิก
148 ประเทศ โดยประเทศไทยเป็นสมาชิกอันดับที่ 59
องค์การค้าโลก จัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลดอุปสรรคและหามาตรการลด
การกีดกันทางการค้าต่อกันเพื่อให้เกิดการค้าเสรีระหว่างประเทศ โดยออกกฎเกณฑ์ที่จะสร้าง
ความเป็นธรรม โปร่งใส เปิดกว้างไปสู่การค้าเสรีต่อกัน เพราะการค้าเสรีจะช่วยให้ประชา
ชาติทั่วโลกสามารถพัฒนาความเจริญได้ทัดเทียมกัน มาตรการเดียวที่สหประชาชาติยังให้
ประเทศต่าง ๆ คงไว้คือ มาตรการด้านภาษีศุลกากรเท่านั้นเมื่อเกิดองค์การค้าโลกขึ้นมาแล้ว
บรรยากาศทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศดีขึ้นมาก การกีดกันทางการค้า การ
เลือกปฏิบัติ และการใช้แรงกดดันต่าง ๆ ลดลงมาก
ผลกระทบต่อประเทศไทยคือ สินค้าออกของไทยจะได้ราคาสูงขึ้นและถูกกีดกันน้อย
ลง สามารถขยายตลาดได้มากขึ้น แต่ไทยจะต้องเปิดตลาดบริการในสาขาการเงิน การคมนา
คมขนส่ง ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เข้มงวดในเรื่องสิทธิบัตรยา ลิขสิทธิ์คอมพิว
เตอร์ซอฟแวร์ และสื่อบันเทิงมากขึ้น ต้องยกเลิกมาตรการด้านการลงทุนต่างๆ เช่น บังคับใช้
ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริม บังคับให้ใช้ชิ้นส่วนในประเทศ เป็นต้น การเปิดการค้าเสรี
ีระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นทำให้องค์การค้าโลกถูกกล่าวหาว่าควบคุมระบบการค้าของโลก
เพื่อผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจที่ร่ำรวย ซึ่งมีอยู่ในราว 20 – 30 ประเทศเท่านั้น
ประเทศร่ำรวยเหล่านี้ได้อาศัยการค้าเสรีแอบดูดดึงวัตถุดิบราคาถูกจากประเทศอื่นมากอบกิน
เป็นความมั่งมีศรีสุขของตน มันเป็นโลกที่ชาติด้อยพัฒนาจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของประเทศ
ร่ำรวย
|